ประกาศฟรี โพส SEO > โปรโมทเพจร้านค้า

ที่ดิน ส.ป.ก ต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่?

<< < (27/62) > >>

ruataewada:
โฉนดที่ดิน “3 ข้อ เข้าใจง่ายๆ ก่อนซื้อ-ขายที่ดิน”


>โฉนดที่ดิน ถือเป็นสินทรัพย์ที่สร้างเสริมมูลค่าได้ตลอดเวลา ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะซื้อ-ขายโฉนดที่ดินเพื่อเก็งกำไร แต่ก่อนที่เราจะซื้อ-ขายโฉนดที่ดิน เราต้องรู้ก่อนว่าโฉนดที่ดินแบบใดซื้อ-ขายได้บ้าง และโฉนดมีกี่แบบ? แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? เพื่อป้องกันข้อพิพาทหรือการฟ้องร้องกันในภายหลัง วันนี้เรารวบรวม 3 ข้อง่ายๆมาให้ทำความเข้าใจกันแล้ว…

โฉนดที่ดินมีกี่แบบ?



โฉนดที่ดินทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ โฉนดที่ดิน (นส. 4) หนังสือสิทธิรับรองการทำประโยชน์ (นส.3ก) หนังสือสิทธิรับรองการทำประโยชน์ (นส.3) และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในลักษณะการถือครอง การใช้ประโยชน์ และการซื้อขาย ซึ่งจะแยกย่อยลงไปอีกและมีลักษณะแตกต่างกัน

โฉนดที่ดินแต่ละแบบต่างกันอย่างไร?


โฉนดที่ดินตราครุฑสีแดง หรือ นส.4
หนังสือที่ทางราชการหรือกรมที่ดินออกให้ตามประมวลกฎหมายเพื่อเป็นการแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ที่เป็นเจ้าของ มีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน และมีหมุดแสดงพื้นที่ชัดเจน หากผู้ใดมีโฉนดไว้ในครอบครองก็ถือได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้นอย่างสมบูรณ์

โฉนดที่ดินตราครุฑสีเขียว หรือ นส. 3 ก
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเอกสารที่แสดงสิทธิการครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อรับรองว่าเจ้าของสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆได้ โดยที่ดินจะมีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ครอบครองต้องทำให้ที่ดินนั้นเกิดประโยชน์ต่างจาก นส.4 ที่สามารถปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีดำ หรือ นส. 3/นส. 3 ข
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเอกสารที่แสดงสิทธิการครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ เหมือนกันกับ นส. 3 ก แต่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ไม่มีการวัดพื้นที่โดยละเอียด ลักษณะเป็นรูปแผนที่ลอยๆ อาจะใช้การอ้างอิงวัตถุ หรือต้นไม้ในบริเวณนั้นๆเพื่อเขียนร่างแผนที่ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือบางกรณีใช้ออกในพื้นที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่ง นส. 3 เป็นเอกสารที่นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออกให้ และนส. 3 ข เป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่ที่ดินเป็นออกออกให้แต่ยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการ

โฉนดที่ดินตราครุฑสีน้ำเงินหรือสีแดง หรือ ส.ป.ก.4-01
เอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดิน หรือเอกสารที่ออกให้เจ้าของมีสิทธิในการทำเกษตรกรรม และการจัดที่อยู่อาศัยเพื่อเกษตรกรรม เจ้าของมีเพียงสิทธิในการครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ใบจอง หรือ นส.2
หนังสือที่ทางราชการออกให้ประชาชนเพื่ออนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งผู้ที่มีใบจองต้องทำประโยชน์ในพื้นที่ดินมากกว่า 75% ของที่ดิน ภายใน 6 เดือนหลังได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

สิทธิทำกิน หรือ สทก.
หนังสือที่ราชการออกให้เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิทำกินในพื้นที่เขตป่าไม้ ซึ่งทางกรมป่าไม้จะเป็นผู้ออกให้ โดยผู้ถือสิทธิ์จะต้องทำประโยชน์ โดยกรมป่าไม้สามารถยึดคืนพื้นที่ดินได้ทันทีหากปล่อยรกร้างติดต่อกันเกิน 2 ปี

ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภ.บ.ท.5
ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ของผู้ที่อยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่มาแต่เดิม ไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงการครอบครองที่ดิน ที่ดินลักษณะนี้มักเป็นที่ดินมือเปล่า ที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆทั้งสิ้น เป็นลักษณะของการอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์สืบทอดกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น แต่จะไม่มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน เจ้าของที่ดินตัวจริงคือ รัฐ

ใบไต่สวน หรือ น.ส. 5
หนังสือที่แสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินและให้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในใบไต่สวนได้ ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดิน และโอนให้กันได้ถ้าที่ดินมีใบไต่สวนและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเป็นการจดทะเบียนโอนมรดก

โฉนดที่ดินแบบใดสามารถซื้อ-ขายได้?
โฉนดที่ดินที่ซื้อ-ขายได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีแดง หรือ นส.4 :
สามารถซื้อ ขาย โอน จำนอง หรือค้ำประกันได้ทั้งหมด ทำให้นิยมซื้อขายมากที่สุด และมีมูลค่าด้านราคาสูงที่สุด ราคาของโฉนด นส.4 มีราคาสูงเมื่อเทียบกับเอกสารชนิดอื่นๆ โดยหากมีการซื้อขาย ผู้ซื้อ-ผู้ขายจะต้องไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินเท่านั้น มิฉะนั้นจะถือ เป็นโมฆะ

โฉนดที่ดินตราครุฑสีเขียว หรือ นส. 3 ก :
สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ โดยเมื่อมีการสอบเขตแล้ว เจ้าของสามารถนำหลักฐานไปขออกโนดได้ทันทีไม่ต้องรอรังวัดติดประกาศ 30 วัน

โฉนดที่ดินตราครุฑสีดำ หรือ นส. 3/นส. 3 ข :
สามารถซื้อ ขาย โอนได้ โดยการซื้อ-ขายจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้ามาทำการรังวัดและติดประกาศเป็นระยะเวลา 30 วัน ถ้าไม่มีใครยื่นเรื่องขอคัดค้าน จึงจะสามารถทำเรื่องขอออกโฉนดได้

โฉนดที่ดินที่ซื้อ-ขายไม่ได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีน้ำเงินหรือสีแดง หรือ ส.ป.ก.4-01 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้ โดยทายาทจะต้องทำเกษตรกรรมเท่านั้น หรือให้เช่าเพื่อการเกษตรได้

ใบจอง หรือ นส.2 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

สิทธิทำกิน หรือ สทก. :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภ.บ.ท.5 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

ใบไต่สวน หรือ น.ส. 5 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับการทำความเข้าใจ 3 ข้อง่ายๆ ก่อนซื้อ-ขายโฉนดที่ดิน สำหรับใครที่ถือโฉนดที่ดินไว้อย่าลืมเช็คว่าตัวเองถือเอกสารลักษณะใด เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เต็มที่ หรือใครที่กำลังจะมองหาซื้อที่ดินก็อย่าลืมเช็คกันนะว่าที่ดินนั้นสามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่เพื่อให้เรามีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของโดยปราศจากข้อพิพาทอีกด้วย หลังซื้อแล้ว ควรทำรั้วให้ชัดเจนเพื่อแสดงอาณาเขตบุกรุกที่ดิน

 

ที่มา kasetphan

ruataewada:
ที่ดิน ส.ป.ก ต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่?


ถ้าคุณเป็นเกษตรกรที่ได้รับที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) อาจสงสัยว่า ที่ดินที่ได้มานั้นจะต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่? ในเมื่อเราได้รับการจัดสรรมาจากรัฐบาลแบบฟรีๆ วันนี้ เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบและเข้าใจกระบวนการเสียภาษีที่ดิน ส.ป.ก. กันครับ

ที่ดิน ส.ป.ก คืออะไร?
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) หรือที่ดิน ส.ป.ก.4-01 คือ ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินเองหรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันการเกษตร ซึ่งการจัดสรรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางดินในการผลิตเกษตร ตาม เอกสารที่แสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518


ผู้ที่มีสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. มีใครบ้าง?
เกษตรกร
เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น

ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี
จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สถาบันเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกร
สหกรณ์การเกษตร
ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอรับการจัดที่ดิน ณ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จังหวัด โดยให้จัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการมีที่ดิน (ถ้ามี) เพื่อให้ ส.ป.ก.จังหวัด ตรวจสอบคุณสมบัติและดำเนินการจัดหาที่ดิน และจัดที่ดิน ส.ป.ก.ต่อไป

ที่ดิน ส.ป.ก. ต้องเสียภาษีหรือไม่?
โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มีการนำที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินมาใช้หาผลประโยชน์โดยมีค่าตอบแทนทั้งการให้เช่า เช่าซื้อ และอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ที่ดิน ซึ่งตามสัญญาเช่า เช่าซื้อ และหนังสืออนุญาตหรือยินยอมดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อและผู้ได้รับอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ที่ดิน เป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระค่าภาษีต่าง ๆ ในระหว่างการเช่า เช่าซื้อ และได้รับอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ที่ดิน

เมื่อ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ มีการเรียกเก็บภาษีจากผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นทรัพย์สินของรัฐ กรณีที่ดิน ส.ป.ก. ถือเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐประเภทหนึ่งผู้มีหน้าที่ในการเสีย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ได้แก่

ผู้เช่า
ผู้เช่าซื้อ
ผู้ได้รับอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ที่ดินในฐานะผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดิน
การจ่ายภาษีที่ดิน ส.ป.ก. อัตราเท่าไหร่? ต้องชำระที่ไหน?
พรบ. ภาษีที่ดินฯ ต้องการเรียกเก็บภาษีที่ดินฯ ที่ต้องการเรียกเก็บภาษีจากผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ โดยที่ดิน ส.ป.ก.จัดเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จึงมีเพดานภาษีงสุด 0.15% อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตราจัดเก็บจริง 0.01% มูลค่า 75-100 ล้านบาท ภาษี 0.03% บ้านพักอาศัย เพดานภาษี 0.3% อัตราจัดเก็บจริงมูลค่า 0-10 ล้านบาท เป็นต้น

ขั้นตอนการจ่ายภาษีที่ดิน ส.ป.ก. จะเหมือนการจ่ายภาษีที่ดินบุคคลและนิติบุคคล โดยการชำระภาษี จะเริ่มประมาณเดือนเมษายนของทุกปี แต่หากต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเกิน 3,000 บาท เราสามารถใช้สิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย

สถานที่ชำระภาษี สามารถชำระภาษีที่ดินได้ด้วยตัวเอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ คือ

กรุงเทพ: ชำระภาษีที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่
พัทยา: ชำระภาษีที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
ต่างจังหวัด: ชำระภาษีที่สำนักงานเทศบาล/ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบล/ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายกำหนด หรือสถานที่อื่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด รวมทั้งจุดบริการเคลื่อนที่ที่ อปท. กำหนด
สรุป
แม้ว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินของรัฐในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) แต่หากทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ผู้ครอบครองนั้นต้องเป็นผู้เสียภาษีตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งหมายความว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องชำระภาษีที่ดินตามอัตราที่กำหนดแม้ว่าที่ดินนั้นจะเป็นของรัฐ โดยมีอัตราภาษีที่ดินเหมือนกันกับภาษีที่ดินทั่วไป และต้องดำเนินการจ่ายตามกำหนดในทุกๆ ปีด้วยนั่นเอง

ขอบคุณที่มา https://kasetphan.com/do-alro-must-pay-tax/

ruataewada:
**สัตว์เหมาะแก่การหาเงิน**

สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์เลี้ยงไว้เพื่อประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นแหล่งอาหาร เป็นเพื่อนคู่ใจ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ในปัจจุบัน ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นอาชีพได้ หรือที่เรียกว่า "สัตว์เศรษฐกิจ" ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงได้อย่างดี

**ปัจจัยในการเลือกสัตว์เศรษฐกิจ**

ในการเลือกสัตว์เศรษฐกิจนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ดังนี้

* **ความต้องการของตลาด** จะต้องเลือกสัตว์ที่มีความต้องการสูงในตลาด เพื่อที่จะขายผลผลิตได้ง่ายและได้ราคาดี
* **สภาพพื้นที่และภูมิประเทศ** จะต้องเลือกสัตว์ที่ทนต่อสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ
* **ความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยง** จะต้องเลือกสัตว์ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงอยู่บ้าง เพื่อที่จะดูแลสัตว์ให้เจริญเติบโตและแข็งแรง

**ตัวอย่างสัตว์เศรษฐกิจ**

ตัวอย่างสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่

* **สัตว์เลี้ยงสวยงาม** เช่น ปลาสวยงาม นกสวยงาม สัตว์เลื้อยคลานสวยงาม เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจเนื้อ** เช่น วัว หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจนม** เช่น วัว แพะ เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจไข่** เช่น ไก่ เป็ด เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจปีก** เช่น เป็ด ห่าน เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจขน** เช่น แกะ แพะ เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจหนัง** เช่น วัว หมู แพะ เป็นต้น
* **สัตว์เศรษฐกิจน้ำ** เช่น ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน เป็นต้น

**ข้อควรระวังในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ**

ในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจนั้น จะต้องคำนึงถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้

* **ศึกษาข้อมูลและวางแผนอย่างรอบคอบ** ก่อนตัดสินใจเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนั้น ๆ อย่างละเอียด รวมถึงความต้องการของตลาดและสภาพพื้นที่ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยง
* **ดูแลสัตว์อย่างเอาใจใส่** สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องมีการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เจริญเติบโตและแข็งแรง
* **ป้องกันโรคระบาด** โรคระบาดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงสัตว์ ควรป้องกันโรคระบาดอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้สัตว์ป่วยหรือตาย

สัตว์เศรษฐกิจเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี หากศึกษาข้อมูลและวางแผนอย่างรอบคอบ ก็สามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจและสร้างรายได้ได้อย่างยั่งยืน

โปรโมชั่นสำหรับคุณ ลวดหนาม
ตาข่ายถักรั้วตาข่าย
รั้วแรงดึง

ruataewada:
โฉนดที่ดิน “3 ข้อ เข้าใจง่ายๆ ก่อนซื้อ-ขายที่ดิน”


>โฉนดที่ดิน ถือเป็นสินทรัพย์ที่สร้างเสริมมูลค่าได้ตลอดเวลา ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะซื้อ-ขายโฉนดที่ดินเพื่อเก็งกำไร แต่ก่อนที่เราจะซื้อ-ขายโฉนดที่ดิน เราต้องรู้ก่อนว่าโฉนดที่ดินแบบใดซื้อ-ขายได้บ้าง และโฉนดมีกี่แบบ? แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? เพื่อป้องกันข้อพิพาทหรือการฟ้องร้องกันในภายหลัง วันนี้เรารวบรวม 3 ข้อง่ายๆมาให้ทำความเข้าใจกันแล้ว…

โฉนดที่ดินมีกี่แบบ?



โฉนดที่ดินทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ โฉนดที่ดิน (นส. 4) หนังสือสิทธิรับรองการทำประโยชน์ (นส.3ก) หนังสือสิทธิรับรองการทำประโยชน์ (นส.3) และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในลักษณะการถือครอง การใช้ประโยชน์ และการซื้อขาย ซึ่งจะแยกย่อยลงไปอีกและมีลักษณะแตกต่างกัน

โฉนดที่ดินแต่ละแบบต่างกันอย่างไร?


โฉนดที่ดินตราครุฑสีแดง หรือ นส.4
หนังสือที่ทางราชการหรือกรมที่ดินออกให้ตามประมวลกฎหมายเพื่อเป็นการแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ที่เป็นเจ้าของ มีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน และมีหมุดแสดงพื้นที่ชัดเจน หากผู้ใดมีโฉนดไว้ในครอบครองก็ถือได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้นอย่างสมบูรณ์

โฉนดที่ดินตราครุฑสีเขียว หรือ นส. 3 ก
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเอกสารที่แสดงสิทธิการครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อรับรองว่าเจ้าของสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆได้ โดยที่ดินจะมีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ครอบครองต้องทำให้ที่ดินนั้นเกิดประโยชน์ต่างจาก นส.4 ที่สามารถปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีดำ หรือ นส. 3/นส. 3 ข
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเอกสารที่แสดงสิทธิการครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ เหมือนกันกับ นส. 3 ก แต่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ไม่มีการวัดพื้นที่โดยละเอียด ลักษณะเป็นรูปแผนที่ลอยๆ อาจะใช้การอ้างอิงวัตถุ หรือต้นไม้ในบริเวณนั้นๆเพื่อเขียนร่างแผนที่ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือบางกรณีใช้ออกในพื้นที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่ง นส. 3 เป็นเอกสารที่นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออกให้ และนส. 3 ข เป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่ที่ดินเป็นออกออกให้แต่ยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการ

โฉนดที่ดินตราครุฑสีน้ำเงินหรือสีแดง หรือ ส.ป.ก.4-01
เอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดิน หรือเอกสารที่ออกให้เจ้าของมีสิทธิในการทำเกษตรกรรม และการจัดที่อยู่อาศัยเพื่อเกษตรกรรม เจ้าของมีเพียงสิทธิในการครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ใบจอง หรือ นส.2
หนังสือที่ทางราชการออกให้ประชาชนเพื่ออนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งผู้ที่มีใบจองต้องทำประโยชน์ในพื้นที่ดินมากกว่า 75% ของที่ดิน ภายใน 6 เดือนหลังได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

สิทธิทำกิน หรือ สทก.
หนังสือที่ราชการออกให้เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิทำกินในพื้นที่เขตป่าไม้ ซึ่งทางกรมป่าไม้จะเป็นผู้ออกให้ โดยผู้ถือสิทธิ์จะต้องทำประโยชน์ โดยกรมป่าไม้สามารถยึดคืนพื้นที่ดินได้ทันทีหากปล่อยรกร้างติดต่อกันเกิน 2 ปี

ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภ.บ.ท.5
ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ของผู้ที่อยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่มาแต่เดิม ไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงการครอบครองที่ดิน ที่ดินลักษณะนี้มักเป็นที่ดินมือเปล่า ที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆทั้งสิ้น เป็นลักษณะของการอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์สืบทอดกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น แต่จะไม่มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน เจ้าของที่ดินตัวจริงคือ รัฐ

ใบไต่สวน หรือ น.ส. 5
หนังสือที่แสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินและให้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในใบไต่สวนได้ ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดิน และโอนให้กันได้ถ้าที่ดินมีใบไต่สวนและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือเป็นการจดทะเบียนโอนมรดก

โฉนดที่ดินแบบใดสามารถซื้อ-ขายได้?
โฉนดที่ดินที่ซื้อ-ขายได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีแดง หรือ นส.4 :
สามารถซื้อ ขาย โอน จำนอง หรือค้ำประกันได้ทั้งหมด ทำให้นิยมซื้อขายมากที่สุด และมีมูลค่าด้านราคาสูงที่สุด ราคาของโฉนด นส.4 มีราคาสูงเมื่อเทียบกับเอกสารชนิดอื่นๆ โดยหากมีการซื้อขาย ผู้ซื้อ-ผู้ขายจะต้องไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินเท่านั้น มิฉะนั้นจะถือ เป็นโมฆะ

โฉนดที่ดินตราครุฑสีเขียว หรือ นส. 3 ก :
สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ โดยเมื่อมีการสอบเขตแล้ว เจ้าของสามารถนำหลักฐานไปขออกโนดได้ทันทีไม่ต้องรอรังวัดติดประกาศ 30 วัน

โฉนดที่ดินตราครุฑสีดำ หรือ นส. 3/นส. 3 ข :
สามารถซื้อ ขาย โอนได้ โดยการซื้อ-ขายจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้ามาทำการรังวัดและติดประกาศเป็นระยะเวลา 30 วัน ถ้าไม่มีใครยื่นเรื่องขอคัดค้าน จึงจะสามารถทำเรื่องขอออกโฉนดได้

โฉนดที่ดินที่ซื้อ-ขายไม่ได้

โฉนดที่ดินตราครุฑสีน้ำเงินหรือสีแดง หรือ ส.ป.ก.4-01 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้ โดยทายาทจะต้องทำเกษตรกรรมเท่านั้น หรือให้เช่าเพื่อการเกษตรได้

ใบจอง หรือ นส.2 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

สิทธิทำกิน หรือ สทก. :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภ.บ.ท.5 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

ใบไต่สวน หรือ น.ส. 5 :
ไม่สามารถซื้อ ขาย โอน จำนองได้ แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับการทำความเข้าใจ 3 ข้อง่ายๆ ก่อนซื้อ-ขายโฉนดที่ดิน สำหรับใครที่ถือโฉนดที่ดินไว้อย่าลืมเช็คว่าตัวเองถือเอกสารลักษณะใด เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เต็มที่ หรือใครที่กำลังจะมองหาซื้อที่ดินก็อย่าลืมเช็คกันนะว่าที่ดินนั้นสามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่เพื่อให้เรามีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของโดยปราศจากข้อพิพาทอีกด้วย หลังซื้อแล้ว ควรทำรั้วให้ชัดเจนเพื่อแสดงอาณาเขตบุกรุกที่ดิน

 

ที่มา kasetphan

ruataewada:
ปลูกผักหลังบ้านต้องล้อมรั้วไหม? เรื่องควรรู้ก่อนลงมือทำสวนครัว
สวนครัวหลังบ้าน กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้เรามีผักสดปลอดสารพิษไว้รับประทานเองได้อีกด้วย แต่หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นต้องล้อมรั้วหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

ข้อดีของการล้อมรั้ว

ป้องกันสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า: สัตว์เลี้ยงของเราหรือสัตว์ป่าอย่างนก หนู กระรอก อาจเข้ามาทำลายแปลงผักของเราได้ การล้อมรั้วจึงช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
กำหนดขอบเขต: รั้วจะช่วยกำหนดขอบเขตของแปลงผักให้ชัดเจน ทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการดูแลรักษา
เพิ่มความสวยงาม: การเลือกรั้วที่สวยงามเข้ากับสไตล์บ้าน จะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับสวนหลังบ้านของเราได้อีกด้วย
ข้อเสียของการล้อมรั้ว

ค่าใช้จ่าย: การสร้างรั้วต้องใช้งบประมาณพอสมควร ทั้งค่าอุปกรณ์และค่าแรง หากมีงบจำกัดอาจเป็นข้อพิจารณา
บดบังทัศนียภาพ: รั้วอาจบดบังทัศนียภาพและทำให้สวนดูอึดอัดได้ โดยเฉพาะรั้วทึบสูง
การบำรุงรักษา: รั้วก็ต้องการการดูแลรักษาเช่นกัน ทั้งการทำความสะอาด การทาสี เพื่อให้คงความสวยงามและใช้งานได้ยาวนาน
แล้วจำเป็นต้องล้อมรั้วหรือไม่?

จริงๆ แล้วการล้อมรั้วไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

ชนิดของผักที่ปลูก: หากปลูกผักที่สัตว์ไม่ค่อยสนใจ เช่น พริก ตะไคร้ อาจไม่จำเป็นต้องล้อมรั้ว
สภาพแวดล้อม: หากบริเวณบ้านมีสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าชุกชุม การล้อมรั้วก็เป็นสิ่งที่ควรทำ
งบประมาณ: หากมีงบจำกัด อาจเลือกใช้วิธีอื่นในการป้องกันสัตว์ เช่น ใช้ตาข่ายคลุมแปลงผัก หรือปลูกพืชไล่แมลง
สรุป

การล้อมรั้วสวนผักหลังบ้านมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้รอบคอบ หากไม่จำเป็นต้องล้อมรั้ว ก็สามารถใช้วิธีอื่นในการป้องกันสัตว์และดูแลแปลงผักได้เช่นกัน

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนทำสวนผักหลังบ้านนะคะ หากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรได้เลยค่ะ

โปรโมชั่นสำหรับคุณ ลวดหนาม
ตาข่ายถักรั้วตาข่าย
รั้วแรงดึง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version