ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: หัดเยอรมัน (Rubella)  (อ่าน 386 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 821
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: หัดเยอรมัน (Rubella)
« เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2024, 15:33:41 น. »
Doctor At Home: หัดเยอรมัน (Rubella)

หัดเยอรมัน (Rubella) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมไปถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัดเยอรมัน ก็สามารถส่งผ่านเชื้อทางกระแสเลือดจากแม่สู่เด็กทารกในครรภ์ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทารกได้หลายประการเลยทีเดียว

โดยทั่วไป โรคหัดเยอรมันสามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายผ่านทางการการไอ การจาม การสูดเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย โรคหัดเยอรมันมีความคล้ายคลึงกับโรคหัด (Measles Rubeola) ซึ่งมักทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ไข้ขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต แต่โรคหัดเยอรมันเป็นการติดเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน และมักมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า

อาการของหัดเยอรมัน

อาการของหัดเยอรมันที่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงแรกค่อนข้างมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ซึ่งหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1–2 วัน ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการดังนี้

    มีไข้ต่ำถึงปานกลาง ประมาณ 37.2–37.8 องศาเซลเซียส
    ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณคอ ท้ายทอย และหลังหู
    มีตุ่มนูนหรือผื่นแดงขึ้นกระจายตัวบริเวณใบหน้าก่อนจะลามไปยังผิวหนังส่วนอื่น เช่น แขน ขา และจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 วัน โดยไม่ค่อยทิ้งรอยแผลจากผื่นไว้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันตามผิวหนังร่วมด้วย

อาการอื่น ๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยมักเกิดขึ้นกับวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เช่น

    ปวดศีรษะ
    คัดจมูก น้ำมูกไหล
    ไม่อยากอาหาร
    เยื่อบุตาอักเสบ ทำให้ตาแดง
    ปวดข้อ ข้อต่อบวม
    ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายมีอาการบวม

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการของโรคก็ได้เช่นกัน และอาการของโรคที่เกิดในเด็กมักจะร้ายแรงน้อยกว่าอาการที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม อาการของโรคจะคงอยู่แค่ประมาณ 2–3 วัน ยกเว้นในกรณีที่ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวมอาจคงอยู่นานหลายสัปดาห์ ดังนั้น หากพบอาการข้างต้นเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์


สาเหตุของหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อรูเบลลา ไวรัส (Rubella Virus) ที่อยู่ในน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วย ซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยการไอ การจาม การสูดเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการใช้สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์สามารถส่งผ่านเชื้อให้แก่ทารกในครรภ์ผ่านทางกระแสเลือดได้ด้วย

ระยะการฟักตัวของโรคหัดเยอรมันจะอยู่ในช่วง 14–23 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 16–18 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตั้งแต่มีเชื้อในร่างกายแม้จะไม่มีอาการแสดงออกมา ไปจนถึงหลังอาการผื่นขึ้นตามร่างกายหายไปประมาณ 2–3 สัปดาห์เลยทีเดียว


การวินิจฉัยหัดเยอรมัน

หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดเยอรมัน ในเบื้องต้นจะมีการสอบถามข้อมูลทั่วไป เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ประวัติการติดต่อกับผู้ป่วยโรคนี้หรือผู้ที่มีผื่นขึ้น และตรวจตามร่างกายว่ามีผื่นขึ้นหรือไม่ จากนั้นจะมีการตรวจน้ำลายและการตรวจเลือด เพื่อช่วยยืนยันผลการติดเชื้ออีกครั้ง โดยรายละเอียดการตรวจน้ำลายและการตรวจเลือด มีดังนี้
การตรวจน้ำลายและการตรวจเลือด (Saliva & Blood Test)

แพทย์จะตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี (Antibodies) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อมีเชื้อโรค สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำลายภายในช่องปากหรือตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย แล้วนำไปตรวจหาสารภูมิต้านทานจำเพาะต่อโรคหัดเยอรมัน ได้แก่ สารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม (IgM Antibody) และสารภูมิต้านทานชนิดจี (IgG Antibody)

การตรวจหาสารภูมิต้านทานจำเป็นต้องได้รับการตรวจ 2 ครั้ง โดยตรวจครั้งแรกเมื่อมีอาการ และตรวจอีกครั้งหลังจากการตรวจครั้งแรกประมาณ 2–3 สัปดาห์ ซึ่งผลการตรวจหาสารภูมิต้านทานจะแตกต่างกันออกไป และสามารถวินิจฉัยโรคได้ดังนี้

    หากตรวจไม่พบสารภูมิต้านทานชนิดจี แสดงว่าบุคคลนั้นมีแนวโน้มว่าไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสหรือเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันแต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อได้
    หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดจี แต่ไม่พบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม แสดงว่าผู้ป่วยเคยติดเชื้อไวรัสหรือเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน
    หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม โดยอาจพบสารภูมิต้านทานชนิดจีหรือไม่พบก็ได้ แสดงว่าเกิดการติดเชื้อไวรัสขึ้นมาใหม่ ซึ่งระดับของโปรตีนชนิดนี้จะเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลา 7–10 วันหลังการติดเชื้อ และจะค่อย ๆ ลดระดับลง
    ในกรณีที่ตรวจไม่พบสารภูมิต้านทานชนิดใดเลย แสดงว่ายังไม่เคยเกิดการติดเชื้อและยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อนเช่นกัน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคขึ้นได้ในอนาคตหากได้รับเชื้อ
    สำหรับทารกแรกเกิด หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม แสดงว่าได้รับเชื้อในขณะที่มารดากำลังตั้งครรภ์

การรักษาหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันมักมีอาการไม่รุนแรงและจะดีขึ้นเองภายใน 7–10 วัน การรักษาโรคไม่มีวิธีที่เฉพาะเจาะจง แต่จะเน้นรักษาตามอาการเป็นหลัก โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองที่บ้านเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและบรรเทาอาการไอ หลีกเลี่ยงในการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ และควรหยุดเรียนหรือหยุดทำงานสักระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

หากมีไข้สูงแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาในกลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เพื่อช่วยลดไข้ บรรเทาอาการปวดหัว และอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา และหากไข้ยังไม่ลดอาจเช็ดตัวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายร่วมด้วย

หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ แพทย์อาจรักษาด้วยการให้สารภูมิต้านทานที่ชื่อว่าไฮเปอร์ฮีมูน กลอบูลิน (Hyperimmune Globullin) เพื่อต้านเชื้อไวรัสและบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับเชื้อจากมารดาได้ จึงอาจต้องมีการพบแพทย์เป็นระยะควบคู่ไปด้วย


ภาวะแทรกซ้อนของหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันแล้วหรือได้รับการฉีดวัคซีนหัด–หัดเยอรมัน–คางทูม (Measles–Mumps–Rubella: MMR) จะทำให้มีภูมิต้านทานโรคนี้ไปตลอดชีวิต

แต่ในบางรายก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคข้ออักเสบที่นิ้ว ข้อมือ และหัวเข่าที่พบเฉพาะในเพศหญิง การติดเชื้อที่หูจนกลายเป็นหูน้ำหนวก การอักเสบของสมองจนพัฒนาเป็นโรคไข้สมองอักเสบ หรือโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดในทารกเมื่อมารดาติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (Congenital Rubella Syndrome)

หากทารกได้รับเชื้อหัดเยอรมันจากมารดาผ่านทางกระแสเลือด อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาเกิดความผิดปกติทางร่างกาย เช่น พัฒนาการช้า มีความความบกพร่องทางสติปัญญา หูหนวก เป็นโรคต้อกระจกหรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การทำงานของตับ ม้ามและไขกระดูกมีปัญหา ขนาดศีรษะเล็ก และสมองไม่พัฒนา

ในบางรายอาจมีการพัฒนาความผิดปกติในตอนโตขึ้น เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมากว่าปกติหรือน้อยผิดปกติ อาการสมองบวมจนอาจทำให้สูญเสียการควบคุมร่างกาย นอกจากนี้ ทารกจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดเพิ่มมากขึ้น หากเกิดการติดเชื้อในขณะที่อายุครรภ์น้อย โดยเฉพาะในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ดังนี้

    การติดเชื้อในช่วง 10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทารกมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดสูงถึง 90% และมักจะเกิดความผิดปกติในการทำงานหลายส่วนของร่างกาย
    การติดเชื้อในช่วงสัปดาห์ที่ 11–16 ของการตั้งครรภ์ ทารกมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดลดลงมาอยู่ที่ 10–20% และแนวโน้มในการเกิดความผิดปกติน้อยลง
    การติดเชื้อในช่วงสัปดาห์ที่ 17–20 ของการตั้งครรภ์ ทารกมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดค่อนข้างน้อย และมีรายงานพบเพียงแค่เกิดอาการหูหนวกเท่านั้น
    การติดเชื้อเกิดหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ทารกจะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด

การป้องกันหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงในการคลุกคลีกับผู้ป่วย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ และควรมีการฉีดวัคซีนหัด–หัดเยอรมัน–คางทูม หรือเรียกสั้น ๆ ว่าวัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในบางราย เช่น อาการบวมแดงหรือระบมบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ปวดตามข้อ แต่ส่วนใหญ่ไม่อันตรายและอาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน

การฉีดวัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์จะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กมีอายุระหว่าง 9–12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน แต่ในบางรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อยู่ในพื้นที่มีการระบาดของโรค สัมผัสกับโรค หรือต้องเดินทางไปต่างประเทศ

แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเร็วขึ้นภายในช่วง 6 เดือนแรก และฉีดเข็มที่ 2 ภายในอายุ 2 ปี 6 เดือน แต่ควรเว้นระยะห่างจากเข็มแรกประมาณ 3 เดือน

ผู้ที่วางแผนจะมีบุตรควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันอย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ แต่หากไม่ได้รับวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ควรได้รับทดแทนหลังคลอด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป และเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์ สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจเลือดหรือระบบภูมิคุ้มกันตามนัดฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

แม้ว่าวัคซีนจะเป็นการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บุคคลบางกลุ่มควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายขึ้นได้ เช่น ผู้ที่มีอาการแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มนีโอมัยซิน (Neomycin) แพ้เจลาติน (Gelatin) ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่มีความผิดปกติของเลือด หรืออยู่ในช่วงการรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 






















































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า