การป้องกันภัยไซเบอร์ DDoS Attack เพื่อปกป้องเว็บไซต์จากการล่มการป้องกันภัยไซเบอร์ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญในยุคนี้ เนื่องจากปัจจุบันภัยไซเบอร์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลายมากขึ้น และหนึ่งในประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ควรระมัดระวังคือ DDoS Attack เป็นภัยจากไซเบอร์ที่มีเป้าหมายโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเพื่อทำให้ระบบล่มและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้องค์กรต้องสูญเสียโอกาสและความเชื่อมั่นลง บทความนี้จะพาทุกคนไปดูกลยุทธ์
วิธีป้องกันภัยไซเบอร์จากการโจมตี DDoS เพื่อให้เพื่อให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลและระบบจากภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พาดูกลยุทธ์การป้องกันภัยไซเบอร์จากการโจมตี DDoS ที่คุณควรรู้DDoS Attack (Distributed Denial of Service) คือประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการมุ่งเป้าไปที่เว็บไซต์หรือระบบขององค์กร โดยผู้โจมตีจะส่งคำขอจำนวนมหาศาลจากหลายแหล่งที่มาพร้อมกันไปยังระบบของเป้าหมาย ทำให้ระบบหรือเว็บไซต์ล่มและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากไม่มีการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ดีพอ การโจมตีภัยจากไซเบอร์นี้อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ทั้งการสูญเสียข้อมูล เสียโอกาสทางธุรกิจ หรือสูญเสียภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความเชื่อมั่นจากลูกค้า
ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภัยจากไซเบอร์ประเภท DDoS Attack ได้ มาดูกลยุทธ์การป้องกันภัยไซเบอร์จากการโจมตี DDoS ที่มาฝากไปพร้อม ๆ กันเลย
- ใช้บริการป้องกัน DDoS จากผู้ให้บริการคลาวด์
การป้องกันภัยไซเบอร์ DDoS Attack ที่สามารถช่วยให้คุณสามารถรับมือและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การใช้บริการป้องกัน DDoS จากผู้ให้บริการคลาวด์ เช่น AWS Shield, Cloudflare หรือ Akamai ซึ่งจะช่วยตรวจสอบและกรองการเข้าถึงเว็บไซต์ก่อนเสมอ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการโจมตีได้ดี
- เพิ่ม Bandwidth และใช้ Load Balancing
การเพิ่มแบนด์วิธ (Bandwidth) และการใช้ Load Balancing เป็นกลยุทธ์สำคัญในการป้องกันภัยไซเบอร์ DDoS Attack โดยการเพิ่มแบนด์วิธจะช่วยให้ระบบสามารถรับข้อมูลจำนวนมากได้โดยไม่ทำให้ระบบล่มหรือช้า ขณะที่การใช้ Load Balancing จะช่วยกระจายคำขอจากผู้ใช้งานไปยังหลายเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เว็บไซต์หรือระบบสามารถให้บริการได้ แม้จะเจอกับปริมาณการเข้าถึงสูงจากการโจมตีของภัยจากไซเบอร์
- การใช้ระบบ IDS/IPS
ระบบ IDS/IPS เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจจับและป้องกันการโจมตีภัยจากไซเบอร์ DDoS โดยทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้าและออกจากระบบ รวมถึงค้นหาพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การเพิ่มขึ้นของคำขอจำนวนมาก และเมื่อพบกิจกรรมที่น่าสงสัย ระบบจะหยุดการโจมตีโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้ DDoS โจมตีและส่งผลกระทบต่อระบบได้
- ตั้งค่า Rate Limiting
การตั้งค่า Rate Limiting คือการตั้งค่าจำกัดจำนวนคำขอที่ผู้ใช้งานสามารถส่งเข้ามาในเว็บไซต์หรือเซิร์ฟเวอร์ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีคำขอเข้ามามากเกินไปจนเกินขีดจำกัดของระบบ โดยการตั้งค่านี้ถือเป็นหนึ่งในการป้องกันภัยไซเบอร์ DDoS Attack ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีและช่วยป้องกันไม่ให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม เพราะระบบจะสามารถจัดการกับคำขอต่าง ๆ จากผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การใช้ Anycast Network
Anycast Network คือเทคนิคการกระจายคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์หลายแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้มากที่สุดทั่วโลก เทคนิคนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตี DDoS โดยการกระจายการจราจรไปยังหลายจุด ทำให้ระบบสามารถรับมือกับการโจมตีที่มีปริมาณสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคำขอจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถจัดการได้ดีที่สุดในขณะนั้น ช่วยลดภาระของเซิร์ฟเวอร์หลักและทำให้ระบบยังคงทำงานได้แม้เผชิญกับภัยจากไซเบอร์ DDoS Attack
DDoS Attack เป็นประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลให้เว็บไซต์ ระบบ หรือบริการทางออนไลน์ขององค์กรเกิดการหยุดทำงานได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยจากไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลเพราะทำให้องค์กรเกิดการสูญเสียชื่อเสียง ความเชื่อมั่น และโอกาสในการสร้างยอดขายไป ดังนั้นการรู้วิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ DDoS Attack อย่างถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ
ภัยไซเบอร์คือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องใส่ใจในการรักษามาตรการความปลอดภัยอย่างเข้มงวด