โรคฝีดาษลิง (หรือโรคฝีดาษวานร) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ก่ออาการในคนคล้ายกับไข้ทรพิษแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย จึงถูกเรียกว่า โรคฝีดาษลิง และพบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก โดยมักพบการติดเชื้อในประเทศแถบอัฟริกากลางและอัฟริกาตะวันตก
โรคฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น โรคนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ แต่การติดเชื้อจากคนสู่คนยังไม่แพร่กระจายเป็นวงกว้างมากนัก
อาการเป็นอย่างไร?
โรคฝีดาษลิง ต่างจากโรคฝีดาษทั่วไป โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่
ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase)
เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) ,
โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions