โรคหัวใจอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไรโรคหัวใจอาการเริ่มต้น
โรคหัวใจเป็นภัยร้ายที่คุกคามผู้คนทั่วโลก และเป็นสาเหตุการตายอันดับแรก ๆ ของประชากรโลกอีกด้วย โรคหัวใจเป็นที่อันตราย เนื่องจากสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดสมองตีบตันได้
อาการของโรคหัวใจอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ บางครั้งอาจเริ่มจากอาการที่ไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยอาจมองข้ามและไม่ได้พบแพทย์ และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้อาการแย่ลงและมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต การตระหนักและทราบว่าโรคหัวใจอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร ก็จะสามารถช่วยให้ได้รับการรักษาและการดูแลป้องกันได้ทันเวลา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain)
อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่เป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด อาจรู้สึกเหมือนจุก แน่น หรือมีอะรไมาทับที่กลางหน้าอก และอาจมีการปวดร้าวไปที่กราม แขน หรือหลัง อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นเมื่อมีการออกแรง เช่น ตอนออกกำลังกาย หรือออกแรงยกของ อาการเจ็บหน้าอกยังอาจมีลักษณะดังนี้
รู้สึกเหมือนมีของหนักกดทับที่หน้าอก
มีความเจ็บปวดรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
รู้สึกเจ็บร้าวไปที่คอหรือไหล่ด้านซ้าย
หายใจลำบาก (Shortness of breath)
หายใจลำบากหรือหายใจสั้นเป็นอีกหนึ่งอาการที่สำคัญ ซึ่งมักเกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งในขณะออกแรงหรือในขณะที่พักผ่อนหรือไม่ได้มีกิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการหายใจลำบากในช่วงกลางคืนขณะกำลังนอน ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย อาการหายใจลำบากอาจมีลักษณะอื่น ๆ เช่น
หายใจถี่และสั้นลง
รู้สึกว่าหายใจไม่เต็มที่
ต้องลุกขึ้นนั่งหรือนอนหนุนหมอนสูงเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น หลังการนอนราบ
เหนื่อยง่ายผิดปกติ (Fatigue)
รู้สึกเหนื่อยง่ายแม้ว่าจะไม่ได้ออกแรงมาก เช่น เดินขึ้นบันไดเล็กน้อย อาการนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจอาการเริ่มต้น ซึ่งอาการเหนื่อยง่ายอาจมีลักษณะดังนี้
รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ หลังจากกิจกรรมที่ปกติทำได้
ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างที่เคย
ต้องหยุดพักบ่อยขึ้นเมื่อทำงานหรือออกกำลังกาย
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Irregular heartbeat)
รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ อาการนี้อาจมาพร้อมกับอาการวิงเวียน หน้ามืดหรือหมดสติได้ ซึ่งต้องรีบพบแพทย์เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบไฟฟ้าภายในหัวใจ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมีลักษณะดังนี้
รู้สึกใจสั่น
รู้สึกว่าหัวใจเต้นสะดุดหรือมีการกระตุก
รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วอย่างฉับพลัน (Tachycardia)
รู้สึกว่าหัวใจเต้นช้าลงผิดปกติ (Bradycardia)
เหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Excessive sweating)
เหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น เหงื่อออกในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือไม่ได้อยู่ในสภาพอากาศร้อน อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจอาการเริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย อาการเหงื่อออกมากเกินไปอาจมีลักษณะดังนี้ คือ
มีเหงื่อออกมาก ร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก
รู้สึกใจสั่นร่วมกับการเหงื่อออกมาก
เหงื่อออกมากในขณะพักหรือทำกิจกรรมเบา ๆ
ปวดที่แขนหรือไหล่ (Pain in arms or shoulders)
รู้สึกปวดหรือไม่สบายที่แขน ไหล่ หรือคอ โดยเฉพาะด้านซ้ายของร่างกาย ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันโดยไม่มีสาเหตุ และมักปวดร้าวไปที่ขากรรไกรหรือด้านหลัง ซึ่งเป็นสัญญาณอาการของโรคหัวใจ อาการปวดแขนหรือไหล่อาจมีลักษณะดังนี้
รู้สึกเจ็บหรือร้าวที่แขนซ้ายหรือไหล่
ปวดร้าวไปที่กรามหรือหลังส่วนบน
มีอาการปวดที่รุนแรง ซึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้
อาการบวม (Swelling)
มีอาการบวมที่เท้า ขา หรือหน้าท้อง ซึ่งอาจเกิดจากหัวใจไม่ทำงานแย่ลง การไหลเวียนเลือดในร่างกายผิดปกติไป ทำให้เลือดสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายจนมีอาการบวม โดยอาการบวมนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยอาการบวมอาจมีลักษณะดังนี้
ข้อเท้าหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ
ขาหรือหน้าท้องบวมผิดปกติ
อาการอื่น ๆ (Other symptoms)
บางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละคน เช่น อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือหมดสติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการอื่นที่เป็นอาการโรคหัวใจ เช่น
คลื่นไส้หรืออาเจียนที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน
รู้สึกเวียนศีรษะหรือหมุนเวียน
หมดสติหรือมีความรู้สึกหมดแรงแบบทันทีทันใด ซึ่งต้องรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที
สรุป
ความเข้าใจและทราบถึงโรคหัวใจอาการเริ่มต้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือและไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา เพราะการรักษาแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้
การป้องกันและรักษาโรคหัวใจ เริ่มได้จากการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ การดูแลสุขภาพเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้