Covid-19 ส่งผลกระทบให้ “เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ” ได้จริงหรือ?“เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ” ปัญหาสุขภาพแฝงที่ตามมาหลังการติดเชื้อโควิด-19
อย่างที่เราทราบกัน ว่า Covid-19 ส่งผลกระทบให้เกิดกระบวนการอักเสบได้ทั่วทั้งร่างกาย รวมถึงปัญหาสุขภาพทางเพศของผู้ชาย เนื่องจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้เข้าไปทำลายเซลล์บุผนังหลอดเลือด ระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมอวัยวะสืบพันธุ์ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางเพศและความสามารถในการเจริญพันธุ์ โดยส่งผลต่อการทำงานของอัณฑะ การสร้างอสุจิ และการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนสำคัญของเพศชาย ทำให้มีความต้องการทางเพศลดลง รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนโลหิต ซึ่งมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศอีกด้วย โดยผลกระทบดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะชั่วคราว และระยะถาวร
นอกจากนี้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตใจ การมีภาวะความเครียดที่รุนแรง อารมณ์แปรปรวน ก็ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน โดยจากการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยประมาณ 64.7% ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศโดยทั่วไป โดยปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือเรียกกันว่าอาการ “นกเขาไม่ขัน” (Erectile dysfunction: ED) สามารถแบ่งระดับอาการได้ดังนี้
อาการนกเขาไม่ขันระดับเล็กน้อย 45.1%
อาการนกเขาไม่ขันระดับปานกลาง 15.7%
อาการนกเขาไม่ขันระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง 3.9%
(การศึกษากลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยชายไทยที่ติดเชื้อ Covid-19 จำนวน 153 ราย)
“นกเขาไม่ขัน” คุณกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่หรือไม่?
ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ นกเขาไม่ขัน (ED) คือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถคงตัวไว้ได้ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย เช็กสัญญาณเตือนอาการนกเขาไม่ขัน
ความต้องการทางเพศลดลง หรืออาจไม่มีความต้องการทางเพศเลย
ไม่สามารถตอบสนองได้ แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นหรือการเล้าโลมแล้ว
มีอาการหลั่งเร็วกว่าเดิม โดยอาจพบได้ในผู้ที่เริ่มมีอาการในระยะแรก
ตอนรุ่งเช้า เริ่มสังเกตว่ามีอาการนกเขาไม่ขันเหมือนเดิม นั่นอาจเป็นอาการเตือนว่าคุณเริ่มมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ขนาดของอวัยวะเพศหดตัวสั้นลง
นกเขาไม่ขัน ทำอย่างไรดี?
Covid-19 เข้าไปส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย อัณฑะเกิดการอักเสบ เกิดพังผืดขึ้นที่บริเวณปอด ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาสุขภาพทางเพศดังกล่าว หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยหากมีสาเหตุมาจากความเครียด ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง พยายามผ่อนคลาย ลดความเครียด และหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
หากใครที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และพบว่าตนเองมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และวางแผนเพื่อการรักษาการต่อไป
อาการแบบนี้ สงสัย “ลองโควิด” ถามหา ภาวะลองโควิด (Long Covid) ส่งผลกระทบให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งร่างกาย ผู้ป่วยยังคงมีอาการหลงเหลือแม้จะหายจากโควิดมาแล้วกว่า 1 เดือน