อาการcovid 19 เริ่มต้น โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 จะแสดงอาการป่วยใน 5–6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจแสดงอาการโควิดหลังจากติดเชื้อ 14 วันก็เป็นได้ มี 5 อาการหลัก ๆ ที่สังเกตด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ว่าเป็นอาการโควิดวันแรก ซึ่งก็คือ มีไข้ เจ็บคอ ไอแห้ง ๆ น้ำมูลไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการคล้ายกับไข้หวัด และบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่นปอดอักเสบ แต่อาการที่พบได้ช้ดเจนกว่าอื่น ๆ คือ “ไม่ได้กลิ่น - ไม่รู้รส”
อาการแบบไหนคือโควิดลงปอด
อาการปอดที่ทำงานได้น้อยลง บวกกับการติดเชื้อโควิด ยิ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอดโดยตรง ทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซที่น้อยลง เป็นผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงตามลำดับ กลุ่มที่เสี่ยงมากคือ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้สูงอายุติดโควิด อาการโควิดลงปอดที่แสดงออกมามีดังต่อไปนี้
อาการหอบเหนื่อย แม้จะทำกิจกรรมที่ไม่ได้ออกแรงมากก็ตาม
หายใจลำบาก หายใจไม่สุด หรือหายใจได้ไม่เต็มปอด
รู้สึกเจ็บ แน่นหน้าอก
อาการไอ ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ
มีอาการไข้มากกว่า 37.5 °C ขึ้นไป
สามารถที่จะเช็กอาการโควิดลงปอดเบื้องต้นด้วยตนเอง ด้วยการใช้อุปกรณ์วัดค่าออกซิเจนในเลือดบริเวณปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ที่มีค่าไม่ต่ำกว่า 94% และมีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วยเมื่อใดที่สงสัยว่ามีอาการโควิดลงปอด ให้พบแพทย์เพื่อทำการยืนยันผลตรวจโดยการทำเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) เพื่อเริ่มขั้นต้นการรักษา ซึ่งแน่นอนย่อมเป็นการให้ยาโควิดตามลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อยับยั้งความรุนแรงและการกระจายตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็สามารถดูแลอาการโควิดลงปอดเบื้องต้นด้วยตัวเองก่อนเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรงก่อนได้ ดังนี้
ปรับท่านอนช่วยเพิ่มออกซิเจนในปอดในท่านอนคว่ำ นอนตะแคง และท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน เป็นเวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชั่วโมง
ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวขาบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน และกินอาหารที่เป็นประโยชน์เพียงพอ
สำหรับผู้ที่มียาประจำตัวให้กินอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีโรคความดันเลือดสูงควรวัดความดันต่อเนื่อง
เตรียมยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาโควิด
อาการโควิดต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร
อาการโควิด-19 นั้น ถ้านับจากวันที่ 1–5 ปกติจะมีอาการที่แสดงออกคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเพลีย ๆ อาจจะมีเจ็บคอ หรือมีน้ำมูกบ้าง แต่หลังจากวันที่ 5 แล้ว ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่ผิดปกติมากกว่าไข้หวัดใหญ่ คือ จะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นผิดปกติ หรือหอบมากขึ้น บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปอดอักเสบ เป็นต้น
วิธีรักษาอาการโควิด
ผู้ป่วยโควิด-19 มีการติดเชื้อที่พบได้อยู่ 3 รูปแบบ ที่มีอาการโควิดตั้งแต่ระดับเบาจนถึงระดับรุนแรง ดังนั้นวิธีรักษาโควิดก็จะแตกต่างกันไป
1. การรักษาผู้ป่วยสีเขียว
เนื่องจากอาการไม่รุนแรงจึงไม่จำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาล เพียงแค่ทำการกักตัว 14 วัน หรือที่เรียกว่า Home Isolation โดยได้รับการดูแลพร้อมอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน เช่น ยาโควิด ฟ้าทะลายโจร หรือเข้ารักษาตัวโดยได้รับการดูแลจากแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง
2. การรักษาผู้ป่วยสีเหลือง
เนื่องจากมีอาการรุนแรงกว่าผู้ป่วยสีเขียว เช่น ผื่นแดงโควิด ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยหอบง่าย ไอหนักขึ้น หายใจแล้วแน่นหน้าอก ให้รีบรักษาตัวที่โรงพยาบาล
3. การรักษาผู้ป่วยสีแดง
การรักษาผู้ป่วยสีแดงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิดที่ห้อง ICU โดยผู้ป่วยจะได้รับเครื่องช่วยหายใจ ระหว่างรอเตียงควรนอนคว่ำ หากหายใจไม่ออกให้นอนตะแคงประมาณ 45 องศา หากเป็นสตรีตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี พยายามขยับขาป้องกันลิ่มเลือด และดื่มน้ำเยอะ ๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
อาการโควิดกี่วันหาย
เชื้อโควิดกี่วันหายนั้น ขึ้นกับอาการของแต่ละคน โดยจะดูที่อาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หลังครบกำหนดที่โรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณะสุขกักตัวผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 10 วัน เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าไม่มีอาการโควิดที่เข้าข่ายระยะแพร่เชื้อ จะถือว่าผู้ป่วยนั้นสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
แนวทางป้องกันโควิด
วิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการโควิด ไม่ให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 คือ
หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูลไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น
เว้นระยะห่างทางสังคม
ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง แต่เมื่อจับแล้วก็อย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น กระเป๋า มือถือ เป็นต้น
ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
กินอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่กินอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังออกไปข้างนอก
สังเกตอาการป่วยของตัวเอง และทุกคนในบ้านอย่างสม่ำเสมอ
การป้องกันไม่ให้เด็กติดโควิด ผู้สูงอายุติดโควิด หรือติดโควิดรอบ 2 นั้น ทุก ๆ คนต้องรู้จักการดูแลตัวเองหลังติดโควิด (ถ้าเคยเป็น) ตามแนวทางป้องกันที่ระบุไว้ข้างต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโควิดรอบใหม่ที่แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิม ก็ยังคงเป็นแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม
ข้อสรุป
อาการโควิดรอบใหม่นี้ เป็นการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งแพร่กระจายสู่คนในสังคมได้อย่างรวดเร็ว โอกาสติดโควิดรอบ 2 ก็สูงขึ้น ข้อแนะนำก็คือ ให้ถือปฏิบัติในแนวทางป้องกันไม่ต่างจากการป้องกันโควิดสายพันธุ์ก่อน ๆ มากนัก เพื่อไม่ให้เกิดการติดอาการโควิดรอบใหม่