ผู้ป่วยที่ให้ อาหารสายยาง จะสามารถกลับมาทานอาหารได้ปกติหรือไม่ ? การให้อาหารทางสายยาง เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการให้อาหารสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือกลืนอาหารเองไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารอาหาร จึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารทางสายยาง
เพื่อไม่ให้ขาดสารอาหารและยังเป้นการปรับสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายด้วย การที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับอาหารทางสายยางนั้น ร่างกายผู้ป่วยอาจจะไม่แข็งแรงที่จะรับประทานอาหาร หรือกลืนอาหารเองได้ ซึ่งหากให้อาหารทางสายยางไปนานๆ ก้จะเกิดผลเสียได้เหมือนกัน เนื่องจากสายยางที่เข้าไปอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลเสียให้ร่างกายในส่วนอื่นๆมีความผิดปกติ หรือได้รับผลกระทบไปด้วย
หลายคนเกิดความสงสัยว่า ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยาง จะสามารถกลับมารับประทานอาหารได้เป็นปกติหรือไม่ คำตอบคือได้ หากร่างกายผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้เองแล้ว ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยด้วยว่ามีการฟื้นฟูร่างกายมากน้อยแค่ไหน หากผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารได้ แพทย์อาจจะให้ไปทำกายภาพบำบัดก่อน โดยการฝึกกลืนอาหาร ดดยจะประเมินว่า ผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะกลืนอาหารเองได้หรือไม่ แต่ถ้าประเมินแล้วว่าผู้ป่วยยังไม่สามารถกลืนอาหารเองได้ แต่ยังฝืนก้อาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อสังเกตอาการและพัฒนาการของผู้ป่วยด้วยว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
สำหรับผู้ป่วยที่ยังคงต้องอาหารผ่านทางสายยางที่บ้าน ผู้ดูแลจะต้องเรียนรู้วิธีการเตรียมอาหารปั่นผสมที่จะให้ทางสายยาง และวิธีการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ตลอดจนการสังเกตอาการของผู้ป่วย ขณะป้อนอาหารด้วย รวมไปถึงต้องดูแลรักษาความสะอาด ทั้งสถานที่การเตรียมอาหาร และภาชนะที่ใส่อาหารจะต้องมีความสะอาด และผู้ดูแลหรือผู้ให้อาหารจะต้องล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังให้อาหาร เพื่อความสะอาดและสุขลักษณะที่ดี รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย หากได้รับอาหารที่ไม่สะอาด อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย หรืออาเจียนได้ ซึ่งจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายของผู้ป่วยโดยตรง เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน