Pain Point คือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ให้ธุรกิจดำเนินได้ราบรื่นPain Point คือจุดเจ็บปวดหรือจุดที่สร้างปัญหาให้กับการดำเนินธุรกิจ ทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ เนื่องจากได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่ตอบโจทย์ ไม่อาจตอบสนองและแก้ Pain Point ของลูกค้าได้ ส่งผลต่อผลกำไร ยอดขายที่ลดลง การวิเคราะห์ Pain Point ทั้งของธุรกิจและของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อที่จะได้หาหนทางแก้ไขให้เร็วที่สุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว เนื่องจากปัญหาของลูกค้าส่วนใหญ่มักเกิดจากสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของธุรกิจ ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปดูว่าประเภทของ
Pain Point มีอะไรบ้าง เพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือและปรับปรุงสินค้าหรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของ Pain Point คืออะไร? เรื่องที่ธุรกิจต้องให้ความใส่ใจการเข้าใจอย่างรวดเร็วว่า Pain Point คืออะไร? ในการดำเนินธุรกิจมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะได้แก้ปัญหา Pain Point ของลูกค้าได้อย่างตรงจุด เพราะหากมองย้อนกลับไป ปัญหาที่ลูกค้าพบเจอมีจุดกำเนิดจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน กระบวนการผลิต คุณภาพของสินค้า หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นจุดอ่อนที่ธุรกิจควรรีบแก้ไข โดยประเภทของการวิเคราะห์ Pain Point อย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางรับมือกับปัญหาด้านต่าง ๆ มีดังนี้
การเงินปัญหาด้านการเงิน หรือ Financial Pain Point เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญในยุคที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คาดการณ์สภาพเศรษฐกิจได้ยาก Financial Pain Point จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลอย่างมากต่อความมั่นคงของธุรกิจ หากธุรกิจไม่สามารถรู้ได้ว่า Pain Point คืออะไร? ซึ่งปัญหาด้านการเงินที่ธุรกิจอาจพบเจอได้บ่อย เช่น
- หนี้สินสูง การจัดการหนี้สินที่ไม่ดี อาจทำให้ธุรกิจรับภาระทางการเงินที่หนักจนเกินไป ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้
- การจัดการงบประมาณ ขาดการวางแผนที่ดีด้านการเงิน ทำให้ไม่สามารถจัดการงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การลงทุนที่ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง และเป็นการสูญเสียเงินทุนไปโดยเปล่าประโยชน์
- ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าโฆษณาต่าง ๆ มีผลให้เกิดการขาดทุน และผลกำไรลดลงจากที่ตั้งเป้าไว้
ดังนั้นทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงิน เงินทุนหมุนเวียน ตลอดไปถึงเงินทุนสำรอง เพื่อที่จะสามารถบริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน ตลอดถึงอนาคตและดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น
การตลาดการตลาด เป็นอีกด้านที่ธุรกิจต้องใช้การวิเคราะห์ Pain Point อย่างใส่ใจ เนื่องจากการตลาดเป็นกระบวนการที่ทำให้แบรนด์ของธุรกิจเป็นที่รู้จักยิ่งขึ้น มีส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดขาย เพื่อปรับปรุงและสามารถแก้ไข Pain Point ของลูกค้า สร้างแบรนด์ให้แข็งแรง เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยอาจมีการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ตลาด เพื่อให้สินค้าหรือบริการสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นำไปสู่การขยายฐานลูกค้า สร้างยอดขายและผลกำไรอันดีให้แก่ธุรกิจ โดยปัญหาด้านการตลาดที่ธุรกิจต้องเจอ เช่น
- การระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไม่ชัดเจน ไม่สามารถวางแผนหรือสร้างกลยุทธ์ที่ตรงใจลูกค้าได้
- แบรนด์ไม่แข็งแรง ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้ไม่เกิดยอดขาย
- ขาดข้อมูลในการวิเคราะห์สภาพตลาด ทำให้ไม่สามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ขาดการวางแผนการรับมือความผันผวนของตลาด ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าได้
การบริหารงานบุคคลแน่นอนว่าเมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนพนักงานย่อมมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ธุรกิจจึงต้องมีการดูแลบริหารงานบุคคลเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทุกครั้งที่มีการรับพนักงานใหม่เข้ามาย่อมมีการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ทั้งค่าใช้จ่าย ค่าฝึกสอนอบรมพนักงาน การวิเคราะห์ Pain Point ด้านการบริหารงานบุคคลจึงสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจตามมา เช่น
- ไม่สามารถรักษาพนักงานไว้ได้ มีอัตราการลาออกสูง
- เกิดการแข่งแย่งชิงพนักงาน บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
- ไม่มีการฝึกอบรมพนักงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน พนักงานไม่ได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเอง
- ความไม่ชัดเจนของหน้าที่ มีการโยกย้ายตำแหน่งพนักงานบ่อย พนักงานเกิดความสับสนในหน้าที่ และสร้างความไม่พึงพอใจ
กระบวนการผลิตอีกสิ่งที่ธุรกิจต้องเร่งแก้ไขคือ ปัญหาด้านกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการบริหารสินค้าคงคลัง การควบคุมคุณภาพสินค้าให้ตอบโจทย์และแก้ Pain Point ของลูกค้าอยู่เสมอ ปัญหาด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาด้านวัตถุดิบหรือวัสดุที่ไม่เพียงพอต่อสายการผลิต หากมีการวิเคราะห์ Pain Point อย่างถูกต้อง จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ และทำให้ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Pain Point คือสิ่งสำคัญไม่ว่าจะในมุมมองของธุรกิจ หรือในมุมมองของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสามารถจัดการกับจุดอ่อนของธุรกิจได้อย่างอยู่หมัดตั้งแต่แรกเริ่ม จุดอ่อนหรือปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่กลายเป็นปัญหากวนใจ ส่งผลให้สามารถลด Pain Point ของลูกค้าลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างอกงามด้วยการวิเคราะห์ Pain Point อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น
การวิเคราะห์ Pain Point ของธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม